
- หน้าหลัก
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์
- หน่วยที่ 1 รู้จักกับ Flash CS4
- หน่วยที่ 2 การวาดรูปและลงสี
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- ชนิดของภาพกราฟิก
- การกำหนดรายละเอียดของรูปทรงที่วาด
- การวาดเส้นตรงและเส้นโค้งเชื่อมต่อกันโดยใช้ Pen Tool
- แบบฝึกหัดที่ 1
- ใช้ Selection Tool และ Subselection Tool ปรับแต่งรูปทรงที่วาด
- ใช้พู่กันระบายสี Brush Tool
- ใส่สีเส้นขอบด้วย Ink Bottle Tool
- เทสีพื้นภาพโดยใช้ Paint Bucket Tool
- เลือกสีโดยใช้ Eyedropper Tool
- ลบภาพส่วนที่ไม่ต้องการด้วย Eraser Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 3 การจัดการออบเจ็กต์
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- เลือกวัตถุด้วยเครื่องมือ Selection Tool
- เลือกออบเจ็กต์อิสระด้วย Lasso Tool
- การจัดกลุ่มและแยกกลุ่มออบเจ็กต์
- การผสมออบเจ็กต์
- การเคลื่อนย้าย คัดลอก และการลบออบเจ็กต์
- แบบฝึกหัดที่ 1
- การวางซ้อนและการจัดการออบเจ็กต์(Arrange)
- การจัดเรียงออบเจ็กต์
- ปรับรูปออบเจ็กต์อย่างอิสระด้วย Free Transform Tool
- หมุนและเคลื่อนย้ายวัตถุแนว 3D ด้วย 3D Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 4 การใช้สี
- หน่วยที่ 5 การสร้างข้อความ
- หน่วยที่ 6 การสร้างงานแอนิเมชั่น
- หน่วยที่ 7 การเผยแพร่ชิ้นงานที่สร้าง
- ชมวีดีโอสาธิต
ในวันนี้ : 34 คน
เดือนนี้ : 855 คน
ในปีนี้ : 855 คน
ทั้งหมด : 64060 คน
หน่วยที่ 1 - จัดการหน้าจอก่อนเริ่มทำงาน
โพสเมื่อ : 25 เมษายน 2558 ดู 2985 ครั้ง
ในโปรแกรม Flash ประกอบด้วยหน้าต่างพาเนลและแถบเครื่องมือจำนวนมาก ซึ่งเรียกหน้าจอ การทำงานทั้งหมดโดยรวมว่า “Workspace” ในหัวข้อนี้จึงจะ นำเสนอตัวตัวอย่างการจัดรูปแบบของ Workspace เพื่อการใช้งานที่สะดวกที่สุด (เราสามารถเลือกจัดรูปแบบลักษณะของ Workspace แบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความถนัดของเรา) ด้วยหลักการง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
ปรับความกว้าง/สูงของส่วนประกอบต่างๆ
ในการทำงานของโปรแกรม Flash นั้น ควรมีส่วนที่แสดงทูลบ็อกซ์ ไทมไลน์ สเตจ Property Inspector และบางพาเนลที่ต้องใช้ ซึ่งเราสามารถปรับความกว้าง/สูงของส่วนประกอบเหน่านี้ได้ ดังรูป
จัดการทูลบ็อกซ์
เราสามารถแยกทูลบ็อกซ์ออกมาเป็นหน้าต่างอิสระได้โดยใช้เมาส์คลิกค้างไว้ที่ส่วนบนของ
ทูลบ็อกซ์ และลากหน้าต่างทูลบ็อกซ์ออกมา และเมื่อใดที่ต้องการให้นำทูลบ็อกซ์ไปยึดไปไว้ที่ขอบหน้าต่างทำงานเหมือนเดิม ก็ให้ใช้เมาส์คลิกส่วนหัวของหน้าต่างทูลบ็อกซ์แล้วลากกลับมาอยู่ที่เดิม (ให้สังเกตขอบสีฟ้า)และใช้เมาส์ปรับขนาดความกว้างอีกครั้ง
จัดการพาเนล
เปิด/ปิด
เราสามารถเปิด/ปิดพาเนลได้จากคำสั่ง Window แล้วเลือกชื่อพาเนลที่ต้องการแสดงหรือไม่แสดงและจะเห็นว่าถ้าพาเนลไหนถูกเปิดอยู่ จะมีเครื่องหมายถูกหน้าชื่อพาเนลนั้น พาเนลที่ถูกเปิดนั้น จะลอยอยู่เหนือพื้นที่การทำงาน เราสามรถลากไปไว้ในที่เราถนัดในการใช้งานได้ หากไม่ต้องการแสดงพาเนลใด ก็ให้คลิกเลือกพาเนลนั้นอีกครั้ง เพื่อเอาเครื่องหมายถูกออก แต่ถ้าต้องการลด/ย่อขนาดของพาเนลลง ก็ให้คลิกเมาส์ที่แถบหัวของพาเนล จะทำให้ไม่เกะกะพื้นที่การทำงานบนหน้าจอของโปรแกรม
แต่ละพาเนลจะมีเมนูคำสั่งของตัวเอง เพื่อควบคุมการทำงาน สามารถเรียกดูเมนูในแต่ละพาเนลได้โดยคลิกที่ และคลิกเลือกคำสั่งที่ต้องการ
ยุบพาเนลเป็นไอคอน
เราสามารถยุบพาเนลที่อยู่ภายในพื้นที่จัดเก็บพาเนลให้กลายเป็นไอคอน เพื่อประหยัดพื้นที่การใช้งานได้ และเมื่อเรายุบเป็นไอคอนแล้วหากต้องใช้งานพาเนลใดก็เพียงแค่คลิกเมาส์ที่ไอคอนของพาเนลนั้น หน้าต่างของพาเนลนั้นก็จะถูกเปิดขึ้นมาใช้งานทันที่
การเคลื่อนย้ายกลุ่มพาเนล/พาเนล
เราสามารถเคลื่อนย้ายเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของกลุ่ม พาเนล และพาเนลภายในกรอบจัดเก็บ(Dock) โดยการเลื่อนตำแหน่งขึ้น/ลง หรือนำพาเนลเข้า/ออก จากรอบจัดเก็บได้ จากนั้นคิดๆ จากการคลิกเมาส์ แล้วลากบริเวณแถบหัวข้อ (Title bar) เพื่อย้ายตำแหน่งทั้งกลุ่มพาเนลหรือคลิกที่แต่ละแท็บ (Tab) ของพาเนลเพื่อย้ายเฉพาะพาเนลที่ต้องการ