
- หน้าหลัก
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์
- หน่วยที่ 1 รู้จักกับ Flash CS4
- หน่วยที่ 2 การวาดรูปและลงสี
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- ชนิดของภาพกราฟิก
- การกำหนดรายละเอียดของรูปทรงที่วาด
- การวาดเส้นตรงและเส้นโค้งเชื่อมต่อกันโดยใช้ Pen Tool
- แบบฝึกหัดที่ 1
- ใช้ Selection Tool และ Subselection Tool ปรับแต่งรูปทรงที่วาด
- ใช้พู่กันระบายสี Brush Tool
- ใส่สีเส้นขอบด้วย Ink Bottle Tool
- เทสีพื้นภาพโดยใช้ Paint Bucket Tool
- เลือกสีโดยใช้ Eyedropper Tool
- ลบภาพส่วนที่ไม่ต้องการด้วย Eraser Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 3 การจัดการออบเจ็กต์
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- เลือกวัตถุด้วยเครื่องมือ Selection Tool
- เลือกออบเจ็กต์อิสระด้วย Lasso Tool
- การจัดกลุ่มและแยกกลุ่มออบเจ็กต์
- การผสมออบเจ็กต์
- การเคลื่อนย้าย คัดลอก และการลบออบเจ็กต์
- แบบฝึกหัดที่ 1
- การวางซ้อนและการจัดการออบเจ็กต์(Arrange)
- การจัดเรียงออบเจ็กต์
- ปรับรูปออบเจ็กต์อย่างอิสระด้วย Free Transform Tool
- หมุนและเคลื่อนย้ายวัตถุแนว 3D ด้วย 3D Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 4 การใช้สี
- หน่วยที่ 5 การสร้างข้อความ
- หน่วยที่ 6 การสร้างงานแอนิเมชั่น
- หน่วยที่ 7 การเผยแพร่ชิ้นงานที่สร้าง
- ชมวีดีโอสาธิต
ในวันนี้ : 15 คน
เดือนนี้ : 753 คน
ในปีนี้ : 1866 คน
ทั้งหมด : 65071 คน
หน่วยที่ 1 - ส่วนประกอบ Flash CS4
โพสเมื่อ : 25 เมษายน 2558 ดู 15717 ครั้ง
เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Flash CS4 จะพบหน้าจอที่มีส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเราสรุปการใช้งานได้ดังนี้
1. เมนูบาร์ (Menu Bar)
2. พื้นที่ทำงาน (Work Area)
3. ไทมไลน์ (Timeline)
4. ทูลบ็อกซ์ (Toolbox)
5. Property Inspector
เมนูบาร์ (Menu Bar)
เมนูบาร์เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานทั้งหมดเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงาน และการสร้างมูฟวี่ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการตั้งค่าเกี่ยวกับการใช้งานในโปรแกรมทั้งหมด
ทูลบ็อกซ์ (Toolbox)
ทูลบ็อกซ์เป็นกล่องที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในกานสร้าง และปรับแต่งอ็อบเจ็กต์ต่างๆ โดยจะเรียงเครื่องมือต่างๆ เป็นแถวเดียวกันลงมา เครื่องมือแต่ละชิ้นทูลบ็อกซ์จะมีลักษณะเป็นไอคอนรูปภาพที่เราสามารถคลิกเพื่อเรียกใช้งานได้ ซึ่งมีการแบ่งเครื่องมือต่างๆ เป็น 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มเครื่องมือ Tools เกี่ยวกับการเลือก คือ Selection Tool , Subselection Tool
กลุ่มเครื่องมือ Edit เกี่ยวการวากและการตกแต่งภาพ เช่น Pencil Tool , Brush Tool
, Eraser Tool
, Free Transform Tool
กลุ่มเครื่องมือ View เกี่ยวกับการมองภาพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Hand Tool , Zoom Tool
กลุ่มเครื่องมือ Colors ใช้ในการเลือกสีให้กับเส้นและสีพื้น เช่น Eavesdropper Tool
โดยเมื่อเลือกปุ่มเครื่องมือเหล่านี้ เราสามารถปรับแต่งเพิ่มเติม (Options) ทางด้านล่างของทูลบ็อกซ์ได้
เราสามารถเปิด/ปิดทูลบ็อกซ์นี้ได้โดยใช้คำสั่ง Window > Tools ให้มีเครื่องหมายอยู่หน้าคำว่า Tools เพื่อเปิดทูลบ็อกซ์ และใช้คำสั่ง Window > Tools อีกครั้งยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดทูลบ็อกซ์
สเตจ (Stage) และพื้นที่ทำงาน (Pasteboard)
เราเรียกพื้นที่สีขาวตรงกลางหน้าจอที่ใช้จัดวางออกเจ็กต์ต่างๆ ที่ต้องการแสดงให้เห็นในชิ้นงานว่า “สเตจ (Stage) หรือ Document Window” ส่วนบริเวณสีเทาล้อมรอบนั้นเราจะใช้วางวัตถุที่ยังไม่ต้องการให้แสดงว่า “พื้นที่ทำงาน (Pasteboard)” ซึ่งเราอาจเปลี่ยนสเตจได้เหมือนเป็นเวที และพื้นที่ทำงานเป็นพื้นที่หลังเวทีที่ผู้ชมมองไม่เห็น แต่เราวางองค์ประกอบต่างๆ ที่จะนำไปแสดงบนสเตจได้
เราสามาเปิด/ปิดพื้นที่การทำงานได้โดยใช้คำสั่ง View> Pasteboard ให้มีเครื่องหมายถูก เพื่อเปิดพื้นที่การทำงาน และใช้คำสั่ง View> Pasteboard อีกครั้ง เพื่อยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดพื้นที่การทำงาน (หรือจะกดคีย์ลัด
ไทมไลน์ (Timeline)
ไทมไลน์หรือเส้นเวลา จะใช้สำหรับสร้างและกำหนดรายละเอียดของการเคลื่อนไหว โดยเอาองค์ประกอบที่จะเคลื่อนไหว (เราเรียกองค์ประกอบต่างๆ ในชิ้นงานว่าออบเจ็กต์หรือวัตถุ) มาจัดวางต่อกันทีละภาพในแต่ละช่วงเวลา (เรียกว่าเฟรม : frame) ที่จะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยเราจะกำหนดเส้นเวลาให้เล่นภาพเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือเล่นแล้วหยุดก็ได้
เราแบ่งไทมไลน์เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
* ส่วนแสดงเลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์เปรียบเหมือนแผนใสที่สามารถวางภาพ หรือออบเจ็กต์ได้ โดยแต่ละเลเยอร์นั้นแยกเป็นอิสระต่อกัน แต่ประกอบกันเป็นชิ้นงานเดียว
* ส่วนเฟรม (Frame) ที่แสดงช่องเฟรมต่างๆ ซึ่งทำงานเหมือนกับเฟรมที่ประกอบกันเป็นภาพยนตร์โดยเมื่อมีการนำเฟรมเหล่านี้มาแสดงอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ Frame จะแสดงผล ทีละเฟรม โดยจะมีหัวอ่าน (Playhead) ที่เป็นส้นสีแดงคอยบอกตำแหน่งว่ากำลังทำงานอยู่ที่เฟรมใด
เราสามารถเปิด/ปิดไทมไลน์นี้ได้โดยคำสั่ง View > Thmeline ให้มีเครื่องหมายถูกอยู่หน้าคำว่า Thmeline เพื่อเปิดไทมไลน์ และใช้คำสั่ง View > Thmeline อีกครั้งยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดไทมไลน์ซึ่งเราอาจเปรียบการทำงานของไทมไลน์เหมือนกับม่วนฟิลม์ ในขณะที่สเตจคือส่วนที่แสดงแต่ละเฟรมในม้วนฟิลม์นั้นตามลำดับที่กำหนดไว้
พาเนล (Panels)
พาเนลคือหน้าต่างทีรวบรวมเครื่องมือต่างๆ สำหรับใช้ในการปรับแต่งออบเจ็กต์ ซึ่งใน Flash ได้มีการจัดพาเนลต่างๆ ไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามหน้าที่ของมันให้เราเรียกใช้ได้ พาเนลสำคัญที่ควรรู้จักดังนี้
* Properties Inspector เป็นพาเนลที่ใช้แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ที่เราคลิกเลือก ซึ่งเราสามารถปรับแต่งคุณสมบัติเหล่านี้ได้ ทั้งนี้รายละเอียดที่ Property Inspector จะเปลี่ยนไปตามออบเจ็กต์ที่เลือก โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งาน Property Inspector ด้วยคำสั่ง Window > Properties หรือกดคีย์ลัด
* พาเนล color และพาเนล swatches เป็นพาเนลที่ใช้เลือกสีและผสมสีตามที่ต้องการซึ่งจะนำไปใช้ปรับแต่งสีให้กับทั้งภาพวาดและตัวอักษรได้อย่างง่ายดาย โดย color จะใช้ผสมสีเองตามต้องการ และ swatches จะใช้เลือกสีจากจานสีตามที่โปรแกรมกำหนดมาให้ โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนล color ด้วยคำสั่ง window>color เพื่อเรียกแท็บ color และใช้คำสั่ง window> swatches เพื่อเรียกแท็บ swatches
* พาเนล library เป็นพาเนลที่ใช้สำหรับเก็บองค์ประกอบที่จะใช้กับชิ้นงานนั้น ๆ เช่น ซิมบอล ภาพกราฟิก และมูฟวี่หรือไฟล์ชนิดต่าง ๆ เช่น ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เสียง ซึ่งสามารถจัดเก็บองค์ประกอบเหล่านี้ได้อย่างระเบียบในโฟลเดอร์(ที่เราสร้างเอง) โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนล library ด้วยคำสั่ง Windows > library หรือกดคีย์ลัด Ctrl + L
* พาเนล actions เป็นพาเนลที่ใช้สำหรับสร้างโค้ด actionScript (ภาษาที่ใช้งาน Flash) เพื่อให้ชิ้นงานนั้นสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น สร้างปุ่มที่ให้ผู้ใช้คลิกเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ทำเกมและเว็บที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนล actions ด้วยคำสั่ง Windows > Actions หรือ กดคีย์ลัด
แถบเครื่องมือ
แถบเครื่องมือหรือทูลบาร์(Toolbar) ประกอบด้วยคำสั่งที่จัดเป็นปุ่มไอคอนซึ่งเราสามารถคลิกเรียกได้ทันที โดยไม่ต้องหาในแถบเมนู เราเลือกเปิด/ปิดแถบเครื่องมือได้โดยเลือก Windows > Toolbar ชื่อแถบเมนูที่ต้องการ (ให้มีเครื่องหมายถูกหน้าชื่อเพื่อให้แสดงแถบเครื่องมือ และใช้คำสั่งเดียวกันยกเลิกเครื่องหมายถูกหน้าชื่อแถบเครื่องมือที่ต้องการให้ซ่อนไว้) ใน Flash มีแถบเครื่องมืออยู่ 3 ชุด ดังนี้
- แถบเครื่องมือหลัก (Main Toolbar) จะรวบรวมคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ
- แถบเครื่องมือควบคุมการแสดงผล (Controller) ใช้สำหรับควบคุมการแสดงภาพเคลื่อนไหว หรือมูฟวี่ที่เราสร้าง
- แถบเครื่องมือแก้ไข (Edit Bar) ใช้สำหรับแก้ไขสเตจ โดยจะมีปุ่มคำสั่งเพิ่มเติมและเมนูสำหรับใช้ย่อ/ขยายสเตจ นอกจากนั้นยังใช้ในการเลือกทำงานกับฉากและซิมบอล