
- หน้าหลัก
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์
- หน่วยที่ 1 รู้จักกับ Flash CS4
- หน่วยที่ 2 การวาดรูปและลงสี
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- ชนิดของภาพกราฟิก
- การกำหนดรายละเอียดของรูปทรงที่วาด
- การวาดเส้นตรงและเส้นโค้งเชื่อมต่อกันโดยใช้ Pen Tool
- แบบฝึกหัดที่ 1
- ใช้ Selection Tool และ Subselection Tool ปรับแต่งรูปทรงที่วาด
- ใช้พู่กันระบายสี Brush Tool
- ใส่สีเส้นขอบด้วย Ink Bottle Tool
- เทสีพื้นภาพโดยใช้ Paint Bucket Tool
- เลือกสีโดยใช้ Eyedropper Tool
- ลบภาพส่วนที่ไม่ต้องการด้วย Eraser Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 3 การจัดการออบเจ็กต์
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- เลือกวัตถุด้วยเครื่องมือ Selection Tool
- เลือกออบเจ็กต์อิสระด้วย Lasso Tool
- การจัดกลุ่มและแยกกลุ่มออบเจ็กต์
- การผสมออบเจ็กต์
- การเคลื่อนย้าย คัดลอก และการลบออบเจ็กต์
- แบบฝึกหัดที่ 1
- การวางซ้อนและการจัดการออบเจ็กต์(Arrange)
- การจัดเรียงออบเจ็กต์
- ปรับรูปออบเจ็กต์อย่างอิสระด้วย Free Transform Tool
- หมุนและเคลื่อนย้ายวัตถุแนว 3D ด้วย 3D Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 4 การใช้สี
- หน่วยที่ 5 การสร้างข้อความ
- หน่วยที่ 6 การสร้างงานแอนิเมชั่น
- หน่วยที่ 7 การเผยแพร่ชิ้นงานที่สร้าง
- ชมวีดีโอสาธิต
ในวันนี้ : 15 คน
เดือนนี้ : 753 คน
ในปีนี้ : 1866 คน
ทั้งหมด : 65071 คน
หน่วยที่ 6 - การปรับปรุงแอดนิเมชั่นแบบเฟรมต่อเฟรม
โพสเมื่อ : 25 เมษายน 2558 ดู 2196 ครั้ง
จากตัวอย่างลูกบอลกระเด้งกระทบพื้นที่ผ่านมา เราควรปรับปรุงตัวอย่างที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อให้ดูสมจริงมากขึ้น 3 ประการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ปรับให้การเคลื่อนที่ของลูกบอลเลื่อนมาอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 ปรับให้รูปทรงของลูกบอลสะท้อนการกระเด้งเมื่อปะทะกับพื้น
ขั้นตอนที่ 3 เพิ่ม/ลด จำนวนเฟรม เพื่อให้การเคลื่อนไหวดูสมจริงยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 1 ปรับให้การเคลื่อนที่ของลูกบอลเลื่อนมาอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นมากยิ่งขึ้น
หมายความว่าเราจะต้องเลื่อนตำแหน่งของลูกบอลทุกเฟรมไปทางขวา แต่ในกรณีนี้เราไม่ต้องใช้เมาส์คลิกลากลูกบอลที่อยู่ในเฟรมจนครบทั้งหมด 10 เฟรม เพราะมีคำสั่งที่สามารถแก้ไขทุกเฟรมได้เลยพร้อมกันโดยให้เราคลิกที่ Edit Multiple Frames จะปรากฏ Marker ให้เราคลิกลากจนครอบคลุมเฟรม 1 – 10 ซึ่งเป็นขอบเขตเฟรมที่เราต้องการแก้ไขตำแหน่งของลูกบอล สังเกตว่าลูกบอลทุกตำแหน่งจะปรากฏให้เห็นพร้อมกันบนสเตจ
ในกรณีนี้เราต้องการเลื่อนตำแหน่งลูกบอลในทุกเฟรมไปทางขวา ดังนั้นให้เราเลือกคีย์เฟรม โดยคลิกเลือกทีละเฟรม (กด <Shift> ค้างไว้ในขณะที่คลิกเลือกที่ลูกบอลทีละลูก) หรือเลือก Edit->Select All ก็ได้ สังเกตว่าลูกบอลทุกรูปจะมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมไว้ เพื่อแสดงว่าถูกเลือกอยู่ (พื้นจะไม่เลื่อนตำแหน่งตามเพราะเราได้ล็อกเลเยอร์นั้นไว้)
ต่อไปให้เราคลิกลากรูปลูกบอลทั้งหมดที่ถูกเลือกไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (หรือจะกดคีย์ลูกศรบนแป้นพิมพ์เพื่อเลื่อนทีละนิดก็ได้) เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วให้เราคลิกยกเลิก Edit Multiple Frames (หากเราลืมทำสิ่งนี้ก็จะทำให้ภาพเคลื่อนไหวดูสับสนเพราะจะแสดงลูกบอลในทุกเฟรมที่ Marker ครอบคลุม)
ขั้นตอนที่ 2 ปรับให้รูปทรงของลูกบอลสะท้อนการกระเด้งเมื่อปะทะกับพื้น
เพื่อให้การเคลื่อนไหวดูสมจริง เราควรปรับให้รูปทรงของลูกบอลถูกบีบ ณ จุดที่มีการปะทะกับพื้น (เฟรมที่ 5) และค่อยให้มีการคลายตัวในเฟรมต่อจากนั้น โดยให้เราคลิกเลือกเฟรมที่ 5 และคลิก Free Transform Tool เลือก
Scale และบีบรูปลูกบอล
คลิก Onion skin เพื่อดูการเคลื่อนไหวของลูกบอลในเฟรมต่างๆ เราอาจจะต้องปรับตำแหน่งของลูกบอลในเฟรมที่ 5 เล็กน้อย เพื่อให้ดูสอดคล้องกับเฟรมอื่นๆ
หลังจากนั้นให้เราใช้ Free Transform Tool แก้ไขรูปทรงของลูกบอลด้วยวิธีเดียวกัน ในเฟรมที่ 6 ถึงเฟรมที่ 8 ให้ค่อยๆคลายกลับสู่รูปทรงกลมปกติ เพื่อให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น
ลูกบอลจะเสียรูปเมื่อปะทะกับพื้น และค่อยมีรูปกลับเป็นเหมือนเดิม หลังจากที่กระเด้งไปสักระยะหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 เพิ่ม/ลด จำนวนเฟรม เพื่อให้การเคลื่อนไหวดูสมจริงยิ่งขึ้น
สุดท้ายให้สังเกตที่เฟรม 5 ณ จุดที่ลูกบอลปะทะกับพื้น ในความเป็นจริงขั้นตอนนี้ควรใช้ เวลามากกว่า 1 เฟรม เพราะลูกบอลจะต้องถูกบีบอันเนื่องจากแรงปะทะก่อนที่จะกระเด้งไปในทิศทางตรงข้าม ดังนั้นเพื่อให้ดูสมจริง เราจะแทรกคีย์เฟรมเพิ่มอีก 2 เฟรมที่จุดนี้เพื่อหน่วงเวลาเอาไว้ โดยคลิกขวาเลือกช่องเฟรมที่ต้องการเพิ่มคีย์เฟรม (ในตัวอย่างนี้คือเฟรมที่ 5) เลือก Insert Frame (หรือจะคลิกเลือกช่องเฟรม และกดคีย์ลัด <F5> ก็ได้) หลังจากนั้นให้คลิกขวาเลือกช่องเฟรมที่เพิ่มขึ้นมา แล้วเลือก Insert Keyframe แล้วให้ทำซ้ำในสองขั้นตอนนี้อีกครั้งเพื่อเพิ่มคีย์เฟรมที่สอง
เพิ่มคีย์เฟรมแรกต่อจากเฟรมที่ 5
เพิ่มคีย์เฟรมที่ 2 ต่อจากเฟรมที่ 6
เราจะได้เฟรม 5 – 7 ที่ลูกบอลอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คือจุดที่สัมผัสกับพื้น ซึ่งเราจะใช้เครื่องมือ Free Transform Tool ปรับรูปทรงของลูกบอลในคีย์เฟรมทั้งสองที่เพิ่มขึ้นมาให้ต่างกันเล็กน้อยเพื่อสะท้อนแรงปะทะกับพื้น
ก่อนเสร็จสิ้นขั้นตอน เราต้องเพิ่มจำนวนเฟรมของพื้นที่ให้เท่ากับจำนวนเฟรมของลูกบอลที่เพิ่มขึ้นมาด้วย เพื่อให้พื้นที่ปรากฏให้เห็นตลอดการเคลื่อนไหว โดยคลิกขวาเลือกช่องเฟรมที่ 12 เลเยอร์ floor (ขยายจำนวนเฟรมถึงเฟรมที่ 12) เลือก Insert Frame