
- หน้าหลัก
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์
- หน่วยที่ 1 รู้จักกับ Flash CS4
- หน่วยที่ 2 การวาดรูปและลงสี
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- ชนิดของภาพกราฟิก
- การกำหนดรายละเอียดของรูปทรงที่วาด
- การวาดเส้นตรงและเส้นโค้งเชื่อมต่อกันโดยใช้ Pen Tool
- แบบฝึกหัดที่ 1
- ใช้ Selection Tool และ Subselection Tool ปรับแต่งรูปทรงที่วาด
- ใช้พู่กันระบายสี Brush Tool
- ใส่สีเส้นขอบด้วย Ink Bottle Tool
- เทสีพื้นภาพโดยใช้ Paint Bucket Tool
- เลือกสีโดยใช้ Eyedropper Tool
- ลบภาพส่วนที่ไม่ต้องการด้วย Eraser Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 3 การจัดการออบเจ็กต์
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- เลือกวัตถุด้วยเครื่องมือ Selection Tool
- เลือกออบเจ็กต์อิสระด้วย Lasso Tool
- การจัดกลุ่มและแยกกลุ่มออบเจ็กต์
- การผสมออบเจ็กต์
- การเคลื่อนย้าย คัดลอก และการลบออบเจ็กต์
- แบบฝึกหัดที่ 1
- การวางซ้อนและการจัดการออบเจ็กต์(Arrange)
- การจัดเรียงออบเจ็กต์
- ปรับรูปออบเจ็กต์อย่างอิสระด้วย Free Transform Tool
- หมุนและเคลื่อนย้ายวัตถุแนว 3D ด้วย 3D Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 4 การใช้สี
- หน่วยที่ 5 การสร้างข้อความ
- หน่วยที่ 6 การสร้างงานแอนิเมชั่น
- หน่วยที่ 7 การเผยแพร่ชิ้นงานที่สร้าง
- ชมวีดีโอสาธิต
ในวันนี้ : 13 คน
เดือนนี้ : 751 คน
ในปีนี้ : 1864 คน
ทั้งหมด : 65069 คน
หน่วยที่ 2 - ชนิดของภาพกราฟิก
โพสเมื่อ : 25 เมษายน 2558 ดู 29770 ครั้ง
รู้จักกับชนิดของกราฟิก
เราสามารถแบ่งภาพกราฟิกได้ 2 ประเภทคือ
ภาพกราฟิกชนิดบิทแมป (Bitmap)
เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบ ขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
ภาพแบบ Bitmap เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit คือสีสมจริง
ข้อดี ภาพชนิดนี่สามารถแสดงรายละเอียดได้ใกล้เคียงภาพจริง เช่นภาพถ่ายที่มีรายละเอียดสูง เพราะเป็นการใช้พิกเซลจำนวนมากมาประกอบกัน
ข้อเสีย ภาพชนิดนี่จะมีขนาดใหญ่ตามความละเอียดภาพ เพราะต้องใช้จำนวนพิกเซลเพิ่มขึ้นตาม นอกจากนั้นการนำภาพมาขนายให้ใหญ่กว่าขนาดปกติจะทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัดเจน
ภาพกราฟิกชนิดเวกเตอร์ (Vector)
เป็นภาพประเภท Resolution-Independent มี ลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วน เป็นการรวมเอา Object ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic
ลักษณะเด่นคือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap
ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรม CorelDraw เป็นโปรแกรมสร้าง
ข้อดี ภาพชนิดนี้ปรับหรือย่อขนาดได้ตามที่ต้องการ โดยไม่มีผลต่อความละเอียดของภาพเพราะไม่ว่าภาพจะเล็กหรือใหญ่ ความคมชัดก็ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะคอมพิวเตอร์จะสร้างภาพขึ้นมาโดยใช้วิธีคำนวณ ึ่งไม่ได้ถูกจำกัดด้วยพิกเซลในภาพว่ามีมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นภาพชนิดเว็กเตอร์มีขนาดไฟล์เล็กกว่าบิตแมปเพราะไม่ได้ใช้พิกเซลจำนวนมากมาสร้างเป็นภาพ แต่มีเพียงคำสั่งสร้างลวดลายเพื่อประกอบเป็นภาพเท่านั้น
ข้อเสีย เนื่องมาจากลักษระของภาพที่สร้างจากการใช้คอมพิวเตอร์สร้างเส้นและรูปทรงมาประกอบกัน ภาพชนิดนี้จึงมีข้อจำกัดในการแสดงภาพถ่าย แต่เหมาะกับภาพกราฟิกแนวลายเส้น ที่มีสีค่อนข้างต่อเนื่องเท่านั้น
เริ่มต้นการวาดรูปโดยใช้เครื่องมือใน Flash
ต่อไปนี้เราจะมารู้จักกลุ่มพื้นฐานในทูลบ็อกซ์ สำหรับใช้วาดภาพกราฟิก (เราสามารถเปิดทูลบ็อกซ์ได้โอยเลือกคำสั่ง Window>Tools หรือกดคีย์ <Ctrl>
การวาดภาพแบบปกติใน Flash นั้น เมื่อวาดรูปด้วยเครื่องมือต่างๆ เราก็จะได้รูปทรง (Shape) ซึ่งรุปทรงของภาพประกอบด้วย
* เส้นขอบ(Stroke)หรือลายเส้น(Outline)เป็นโครงร่างของรูป
* ส่วนที่เป็นพื้นที่รูป (Fill) : พื้นที่ภายในเส้นขอบ
รูปทรงที่สร้างใน Flash จะต่างจากโปรแกรมสร้างภาพกราฟิกทั่วๆ ไปคือ ทั้งส่วนที่เป็นเส้นขอบและส่วนที่เป็นพื้นที่รูปสามารถแยกจากกันได้อย่างอิสระ โดยเครื่องมือวาดรูปใน Flash จะแบ่งออกเป็นสองหมวดใหญ่ๆได้แก่ เครื่องมือที่สร้างและปรับแต่งส่วนที่เป็นลายเส้น และเครื่องมือที่สร้างและปรับแต่งส่วนที่เป็นพื้นที่รูป